‘เกษตรเขต 5 สงขลา’ แนะวิธีทำเกษตรช่วงหน้าแล้ง!
สงขลา : ผอ.เกษตรเขต 5 สงขลา เผยปีนี้ยังไม่มีพื้นที่การเกษตรกระทบภัยแล้ง แนะเกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลดูแลสวนในช่วงแล้ง
นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูแล้งปีนี้ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ โดยพบว่ายังไม่มีพื้นที่การเกษตรกระทบภัยแล้งและจังหวัดทุกจังหวัดไม่มีการประกาศภัยแล้ง ประกอบกับทางภาคใต้ตอนบน และบางจังหวัดของภาคใต้ตอนล่าง ได้มีฝนตกลงมาบ้างแล้ว และสำนักงานเกษตรจังหวัดทุกจังหวัดได้มีการดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ในเบื้องต้นโดยให้เกษตรกรในพื้นที่ติดตามสถานการณ์ ใช้น้ำอย่างประหยัดและรู้คุณค่า เพื่อเตรียมการป้องกันและลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ขึ้นกับผลผลิตและพื้นที่ทางการเกษตรของตนเอง
นายสุพิท จิตรภักดี กล่าวว่า ในช่วงฤดูแล้งนี้ สภาพอากาศโดยทั่วไปจะร้อน แห้งแล้ง อาจทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่ ซึ่งสภาพอากาศที่ร้อนจัด การขาดแคลนน้ำนี้ส่งผลต่อการผลิตไม้ผลทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ จึงจำเป็นต้องมีการดูแลให้ไม้ผลได้รับน้ำอย่างเพียงพอ และสม่ำเสมอ โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้
- การให้น้ำ โดยคำนึงถึงการให้น้ำแบบประหยัดที่สุด
1.1 ให้น้ำต้นไม้ผล ภายในบริเวณรัศมีทรงพุ่มเท่านั้น อย่าให้น้ำมากจนไหลแฉะไปทั่วสวน
1.2 เปลี่ยนระบบการให้น้ำ โดยการให้น้ำแบบระบบน้ำหยดหรือหัวเหวี่ยงขนาดเล็กจะช่วยประหยัดน้ำ ได้มากกว่าการใช้สายยางรดน้ำ
1.3 ควรให้น้ำครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง
- การใช้วัสดุคลุมดิน โดยคลุมจากโคนต้นไม้ผลจนถึงแนวรัศมีทรงพุ่ม วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ใบไม้แห้ง
ที่ร่วงหล่น ใบตองแห้ง ทางมะพร้าว กาบมะพร้าว หญ้าแห้ง เป็นต้น ซึ่งวัสดุคลุมดินจะช่วยชะลออัตรา
การระเหยของน้ำจากผิวดินให้ช้าลง และวัสดุเหล่านี้จะค่อยๆ ผุผังเป็นอินทรียวัตถุ ท่าให้ดินร่วนและมีการอุ้มน้ำดีขึ้น กรณีต้นไม้เล็กควรใช้วัสดุช่วยในการพรางแสง เพื่อลดความเข้มแสงร่วมด้วย - การตัดแต่งกิ่ง
3.1 ไม้ผลที่เก็บเกี่ยวในช่วงต้นฤดูแล้ง หลังการเก็บผลแล้ว ควรทำการตัดแต่งกิ่ง ให้ทรงพุ่ม
มีความโปร่ง เพื่อลดการระเหยน้ำทางใบ และช่วยให้การออกดอกติดผลในฤดูต่อไป เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
3.2 ไม้ผลบางชนิด เช่น ทุเรียน หากประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงการติดผล
อาจท่าให้ต้นโทรม และถึงตายได้ หรือมังคุดที่ติดผลแล้ว หากขาดแคลนน้ำ ผลจะมีขนาดเล็ก ก้นผลจีบ คุณภาพไม่ดี จะต้องรีบท่าการ ตัดทิ้งให้หมด และหาน้ำจากแหล่งอื่นมารดอย่างประหยัดที่สุด
- การกำจัดวัชพืช ควรกำจัดตั้งแต่ต้นฤดูแล้ง และใช้เศษวัสดุที่แห้งแล้วมาคลุมโคนต้น แต่ในระยะที่ขาดแคลนน้ำมาก ๆ ไม่ควรท่าการกำจัดวัชพืชหรือไถพรวนดิน เพราะจะท่าให้ผิวดินแห้งเร็วมากขึ้นอีก
- การจัดหาแหล่งน้ำ
5.1 ปรับปรุงบ่อน้ำให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ และสูบน้ำจากแหล่งน้ำใกล้เคียงมาเก็บกักไว้
5.2 สวนผลไม้ที่อยู่ใกล้ทะเล จำเป็นต้องกักน้ำจืดไว้ เพื่อป้องกันน้ำเค็มที่จะเข้ามาในสวน ตรวจสอบระบบส่งน้ำ ควบคุมอย่าให้น้ำรั่วไหล หากมีผักตบชวา จอก แหน หรือสาหร่าย อยู่ในท้องร่องสวนเป็นจำนวนมาก ควรนำขึ้นมาคลุมบริเวณโคนต้นไม้ผลเพื่อรักษาความชื้นได้
- การทำแนวกันไฟรอบสวน เพื่อป้องกันไฟไหม้สวน เนื่องจากฤดูแล้งอากาศร้อนจัด
และมีใบไม้แห้งมาก อาจมีไฟป่าเกิดขึ้นได้